การดูแลรักษาวงจร PLC เบื้องต้น

การดูแลรักษาวงจร PLC เบื้องต้น ปัญหาที่เกิดใน อุปกรณ์ PLC บ้างครั้งที่เกิดขึ้น โดยที่โปรแกรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อเกิดปัญหาในการทำงาน คือ อุปกรณ์ ของ PLC ในความ เห็นส่วนตัวของผู้เขียน เอง มักมอง ว่าอุปกรณ์ PLC ที่เราใช้กันอยู่ เมื่อมีปัญหา แล้วมีการซ่อม แบบ Break Down Maintenance เสียแล้วค่อย ซ่อม ฉะนั้นการ การบำรุงรักษา อุปกรณ์ PLC เบื้องต้น จึงเป็นการเพิ่ม อายุการใช้งานของอุปกรณ์ PLC การทำความสะอาด อุปกรณ์ PLC เมื่อใช้นาน ๆ มักมีฝุ่นเกาะ หาก ไม่มีการทำความสะอาด ทำให้แผงวงจร และขั้วไฟฟ้าต่าง ๆ ทำงานได้ไม่ดี เต็มประสิทธิภาพ การทำความสะอาด ควรหาเวลาที่ไม่ได้ทำการผลิต ควรจัดทำแผนในการ Maintenance ให้สอดคล้องกับการผลิตอุปกรณ์ที่ ใช้ ทำความสะอาด ควรใช้ลมแรงดันกลางในการเป่าทำความสะอาดเพื่อไล่ฝุ่น ส่วนแผงวงจรอาจใช้ Contact Cleaner ใช้เพื่อทำความสะอาด

ระบบสัญญาณแจ้งเตือนผ่านอีเมล์

สัญญาณแจ้งเตือนระบบปฏิบัติงานผ่านอีเมล์สู่ศูนย์ควบคุมกลาง เราคงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าการส่งสัญญาณเตือนในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ทางกลุ่มบริษัท FON จึงขอแนะนำชุดสัญญาณและวิธีการติดตั้งผ่านเครือข่ายผ่านอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เบื้องต้น ซึ่งท่านสามารถสอบถามขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มบริษัท FON ได้ทุกสาขา Network Monitor Signal Tower NHE-2F3 Network Monitor Signal Tower NHM-3FB NHE-3FB / NHM-3F8

วิธีการเดินสายไฟที่ถูกต้องภายในตู้ Consumer Unit

วิธีการเดินสายไฟที่ถูกต้องภายในตู้ Consumer Unit 1.     การต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นเมษ  สำหรับไฟ  1  เฟส –    สามารถป้องกันอันตรายจาไฟเกินและไฟช็อต –   ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้เบื้องต้น 2.      การต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด  ทำหน้าที่เป็นเมนสำหรับไฟ  1  เฟส –    สามารถป้องกันอันตรายจากไฟเกินและไฟช๊อต –    สามารถป้องกันอันตรายการไฟรั่วไฟดูดได้  โดยจะป้องกันทุกๆ  วงจรที่ต่อผ่านอุปกรณ์ –    ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า   เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้เบื้องต้น 3.    การต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์  ทำหน้าที่เป็นเมน   โดยมีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด  แยกคุมวงจร สำหรับไฟ 1 เฟส –    สามารถป้องกันอันตรายจากไฟเหกินและไฟช๊อต –    สามารถป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้  โดยจะป้องกันเฉพาะวงจรที่ต่อผ่านอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว  ไฟดูดเท่านั้น –    การต่อวงจรในรูปแบบนี้ต้องเพิ่ม   Neutral  Terminal  แยก  อีก  1   ชุด* –    ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า  เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูด  ได้เบื้องต้น  สำหรับวงจรที่ไม่ผ่านอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด 4.    การต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์  ทำหน้าที่เป็นเมน  โดยมีอุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกินจากฟ้าผ่านสำหรับ 1  เฟส –    สามารถป้องกันอันตรายจากไฟเกินและไฟช๊อต –    สามารถป้องกันอันตรายเนื่องจากแรงดันเกินจากเหตุการณ์ฟ้าผ่า  ช่วยลดความเสียหายอันเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในที่พักอาศัย –    ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า  เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้เบื้องต้น ข้อมูลอ้างอิง บริษัท เอบีบี จำกัด http://www.abb.co.th/homeprotections

โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Over Load Relay) คืออะไร

โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Over Load relay) คืออะไร โอเวอร์โหลด (Over Load relay) เป็นอุปกรณ์ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า เกินกำลังหรือป้องกันมอเตอร์ ไม่ให้เกิดการเสียหาย เมื่อมีกระแสไหลเกินพิกัด โดยมีส่วนประกอบภายนอกที่สำคัญ ของโอเวอร์โหลดรีเลย์ ดังนี้ 1. ปุ่มปรับกระแส(RC.A) 2. ปุ่มทริพ(TRIP) 3. ปุ่มรีเซ็ท(RESET) 4. จุดต่อไฟเข้าเมนไบมีทอล 5. จุดต่อไฟออกจากเมนไบมีทอล 6. หน้าสัมผัสช่วยปกติปิด(N.O.) 7. หน้าสัมผัสช่วยปกติเปิด(N.C.)   หลักการทำงาน โอเวอร์โหลดมี ขดลวดความร้อน (Heater) พันกับแผ่นไบเมทัล (Bimetal)(แผ่นโลหะผลิตจากโลหะต่างชนิดกัน) เชื่อมติดกัน เมื่อได้รับความร้อนแผ่นโลหะจะโก่งตัว ขดลวดความร้อนซึ่งเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปมอเตอร์ เมื่อกระแสไหลเข้าสูงในระดับค่าหนึ่ง ส่งผลขดลวดความร้อนทำให้แผ่นไบเมทัลร้อน และ โก่งตัว ดันให้หน้าสัมผัสปกติปิด N.C. ของโอเวอร์โหลดที่ต่ออนุกรมอยู่กับแผงควบคุมเปิดวงจร ตัดกระแสไฟฟ้า จากคอล์ยแม่เหล็กของคอนแทกเตอร์ ทำให้หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact) ของคอนแทกเตอร์ ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่าย ไฟ ป้องกันมอเตอร์ความเสียหาย จากไฟเกินได้   ชนิดของ Overload Relay โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบธรรมดา คือ เมื่อแผ่นไบเมทัลงอไปแล้วจะกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม เมื่อเย็นตัวลงเหมือนในเตารีด   โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบที่มีรีเซ็ท (Reset) คือ เมื่อตัดวงจรไปแล้ว หน้าสัมผัสจะถูกล็อกเอาไว้ ถ้าต้องการจะให้วงจรทำงานอีกครั้ง ทำได้โดยกดที่ปุ่ม Reset ให้หน้าสัมผัสกลับมาต่อวงจรเหมือนเดิม สัญลักษณ์ แบบมี […]

วิธีการเดินสายไฟเบื้องต้น

ความรู้เบื้องต้นในการเดินสายไฟ ในงานติดตั้งหรืองานเดินสายไฟ ในบ้านหรืออาคารบางครั้ง เพื่อเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายเจ้าของอาคารหรือสถานที่ลงมือปฏิบัติเอง หากลงมือปฏิบัติโดยขาดความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น ทั้งในหลักการ หลักปฏิบัติ และ อุปกรณ์ที่ใช้เครื่องมือแล้วย่อมก่อให้เกิดอันตราย ในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นทางกลุ่มบริษัทฟอน จึงขอนำเสนอความรู้พื้นฐานเบื้องต้นด้านอุปกรณ์ดังนี้ 1) สายไฟ อุปกรณ์นำกระแสไฟฟ้าให้จากแหล่งจ่ายไฟ ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า จนครบวงจร โดยอาจแบ่งสายไฟ ได้ตามลักษณะสายดังนี้ สายไฟฟ้าแบบเปลือย ไม่มีฉนวนหุ้ม เป็นสายขนาดใหญ่ ใช้กับงานไฟฟ้าแรงสูง ปัจจัยที่ไม่มีฉนวนคือ เพื่อเป็นการระบาย ความร้อน เนื่องจากจกระแสที่ไหลในสายเป็นไฟฟ้าแรงสูงและต้องส่งในระยะที่ไกลจากแหล่งผลิต สายแบบเปลือย ผลิตด้วยทองแดง และ สายแบบชนิดผสมอะลูมิเนียม  


Post navigation