ตู้สำเร็จรูป TAMCO กับ มาตรฐาน IP standard

ตู้สำเร็จรูป TAMCO กับ มาตรฐาน IP standard ตู้คอนโทรลกันน้ำ [Outdoor Type] มีรูปแบบและลักษณะหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่มีหลังคาและไม่มีหลังคาแต่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะในรูปแบบใดก็ตามต่าง ก็มีจุดประสงค์การใช้งานที่เหมือนกันคือใช้สำหรับงานกลางแจ้ง อีกทั้งเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีสภาพการใช้งานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ต้อง เผชิญกับน้ำฝน หรือความชื่นสูง เช่น ตู้สำหรับ (Communication Network) ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณสนามกีฬากลางแจ้ง , โรงงานบำบัดน้ำเสีย (Waste Water Treatment) สระว่ายน้ำ หรือ สนามกอล์ฟ เป็นต้น การเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตที่เหมาะสมนั้นมีผลต่ออายุการใช้งานของตู้ คอนโทรลด้วยเช่นกัน ดังนั้น การเลือกใช้วัสดุในการผลิตตู้แต่ละประเภทต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของที่ติด ตั้งเป็นปัจจัยสำคัญ มาตรฐานวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตของ ผลิตภัณฑ์ “ แทมโก้” TAMCO นั้นแบ่งออกเป็นหมวดหลักๆ ดังต่อไปนี้ TAMCO — เหล็กแผ่นขาว (Cold Rolled Steel Sheet] TAMCO — เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีทางไฟฟ้า (Electro-galvanized Steel Sheet) TAMCO– เหล็กสแตนเลส # 304 (Stainless Steel Code No.304) TAMCO– สแตนเลส # 316 (Stainless Steel Code No.316) TAMCO– อลูมิเนียม (Aluminium)

สายไฟฟ้า

สายไฟหรือสายไฟฟ้านั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะ เป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เรียกว่าตัวนำไฟฟ้า และตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ทำสายไฟเป็นโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ลวดตัวนำแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ต่างกัน และในส่วนประกอบของสายไฟจะมีวัสดุฉนวนไฟฟ้าห่อหุ้มเพื่อสะดวกแก่การใช้งาน และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากกระแสไฟ ยกเว้นสายไฟชนิดเปลือยไม่มีฉนวนหุ้ม ส่วนประกอบของสายไฟแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก 1. วัสดุตัวนำไฟฟ้า วัสดุ ที่ใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าได้แก่ โลหะเงิน โลหะทองแดง โลหะอลูมิเนียม โลหะเงินเยอรมัน โลหะตะกั่ว และโลหะผสมต่าง ๆ สายไฟฟ้าที่ใช้งาน ภายในอาคารบ้านเรือนจะใช้โลหะทองแดง และระบบไฟฟ้าแรงสูงจะใช้โลหะอะลูมิเนียม โลหะทองแดงที่ใช้ในงานไฟฟ้าจะต้องมีความบริสุทธิ์มาก หากมีสิ่งเจือปนเล็กน้อยก็จะทำให้ค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นมาก โลหะทองแดงจะต้องมีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 ทองแดงที่ใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าได้แก่ ก. สายทองแดงแข็งปานกลาง เป็น สายทองแดงที่ทำจากการรีดเส้นลวด เมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วจะไม่นำไปอบให้อ่อน สายทองแดงชนิดนี้จะแข็งและทนต่อแรงดึงได้สูงสูงกว่าสายทองแดงชนิดอบให้อ่อน ใช้ในงานเดินสายไฟฟ้ากลางแจ้ง และสามารถขึงให้ตึงมาก ๆ ได้ เช่น สายโทรศัพท์ สายโทรเลข สายทองแดงชนิดรีดแข็งนี้มีความต้านทานสูงกว่าสายทองแดงอ่อนราว 2.7% ข. สายทองแดงอ่อนหรือชนิดอบให้อ่อน คือ สายทองแดงที่รีดได้ขนาดแล้วนำไปอบด้วยความร้อนให้อ่อน ซึ่งเมื่อนำไปหรือโค้งงอ จะสามารถทำได้ง่าย ทนแดรงดึงได้เพียง60% ของสายทองแดงชนิดแข็ง 2. วัสดุฉนวนไฟฟ้า ฉนวนคือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการกีดกั้นหรือขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้าหรือวัสดุ ที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ได้แก่ ยาง ไฟเบอร์ พลาสติก ฯลฯ ฉนวนจะต้องสามารถป้องกันตัวนำไฟฟ้าจากความร้อนหรือของเหลวที่สามารถกัดกร่อน ตัวนำไฟฟ้า และสามารถกันน้ำได้ดี ฉนวนที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้าต้องมีความต้านทานสูง ต้องไม่ถูกกรดหรือด่างกัดกร่อนได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 0 ถึง 200 องศาฟาเรนไฮต์ และต้องไม่ดูดความชื้นในอากาศ ฉนวนที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้ามีอยู่หลายชนิด […]

ตารางเปรียบเทียบรุ่น SACE Circuit Breaker Tmax Formula Tmax XT

ABB Circuit Breaker: Meet all application’s requirement 1. Off Shore Site เซอร์ กิตเบรกเกอร์เอบีบี และอุปกรณ์เสริม ได้รับการออกแบบและรับรองตามาตรฐานอาทิเช่น IEC 60947-2,RINA,Det Norske Veritas, Lloyd’s register of shipping, Germanicher Lloyd, Burean Veritas และอื่นๆ เพื่อแสดงถึงความสามารถที่ใช้งานบน Marine Application ได้

การเปลี่ยนแปลงภายใต้แบรนด์ Schneider Electric

การเปลี่ยนแปลงภายใต้แบรนด์ Schneider Electric Clipsal – Square D – Merrin Gerin – Telemecanique   ชไน เดอร์ อิเลคทริค Schneider Electric ได้นำเสนอสินค้าภายใต้ตราผลิตภัณฑ์ชั้นนำของโลก อันได้แก่ คริปซอล Clipsal เมอริน เกอริน Merrin Gerin สแควร์ดี Square D และ เทเลเมคคานิ Telemecanique ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับระดับโลก ชไนเดอร์ อิเลคทริค Schneider Electric มีสินค้าที่ครอบคลุมในทุกความต้องการใช้งาน ทั้งในบ้านและในภาคอุตสาหกรรมอาทิเช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สาย LAN UTP สายพ่วงคอมพิวเตอร์ (UTP Cable(Solution)), ผลิตภัณฑ์ปลั๊กและเต้ารับประเภทอุตสาหกรรม, ภายใต้แบรนด์ สแควร์ดี Square D อันได้แก่ ตู้ควบคุมไฟ 1 เฟส และ 3 เฟส สแควร์ดี (Classic Consumer Units Load Center Square D), เมนเบรกเกอร์ 2 โพล สแควร์ดี ลูกย่อย 1 โพล 3 โพล สแควร์ดี […]

วิธีตรวจเช็คระบบไฟหลังน้ำท่วม

การตรวจเช็คระบบไฟฟ้าหลังน้ำลด (จากบทความ คอลัม สาระน่ารู้: Schneider Electric Newsletter <Retailer & Electrician Edition> Volume 7/2554, p6-7) หลัง ผ่านพ้นช่วงน้ำท่วมไปแล้ว  จำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อนทำการจ่ายไฟเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ งาน โดยท่านสามารถแบ่งการตรวจเช็คออกเป็น แผงสวิตช์ไฟฟ้า (แผงคัทเอาท์ แผงสวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ) เป็นแผงควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านที่ต่อจากมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ  แบ่งออกเป็น คัทเอาท์ ปัจจุบันใช้น้อยลงมาก ประกอบด้วยฐานคัทเอาท์ ทำด้วยกระเบื้องมีสะพานไฟเป็นทองแดงพร้อมคันโยกการะเบื้อง สำหรับยกขึ้นเพื่อตัดและต่อไฟจากการไฟฟ้าฯ  หลังสะพานไฟที่มีคันโยกมีฟิวส์ตะกั่วต่ออยู่เพื่อป้องกันการะแสเกินบางบ้าน อาจมีฟิวส์ลูกถ้วยต่ออยู่ด้วย  ภายหลังน้ำลดให้สำรวจตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด  หากพบว่าอุปกรณ์อยู่ในสภาพแห้งพร้อมใช้งานไม่มีส่วนไดแช่น้ำอยู่  ให้กดลองยกสะพานไฟของคัทเอาท์ขึ้น  ถ้าฟิวส์ไม่ขาดแสดงว่าระบบไฟฟ้าใช้ได้อยู่  ถ้าฟิวส์ขาดต้องตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป แผงสวิตช์อัตโนมัติ สังเกตได้ว่าจะเป็นตู้เหล็กหรือตู้พลาสติกที่ต่อรับไฟฟ้าจากมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ เช่นเดียวกับ คัทเอาท์ปัจจุบัน มีใช้มากขึ้นกับบ้านรุ่นใหม่ ๆ และจะแบ่งวงจรไฟฟ้าง่ายๆ  เป็นชั้นบนกับชั้นล้างและยังแบ่งออกไปอีกเป็นวงจรปลั๊ก  วงจรโคมไฟ  วงจรแอร์ วงจรเครื่องทำน้ำอุ่นซึ่งควบคุมด้วยสวิตช์อัตโนมัติของแต่ละวงจร  การตรวจสอบแบ่งเป็น


Post navigation